S37-4

Existing Folk Music in Mae Hong Son, Translating Music of the Past to the Present Day

Princess Galyani Vadhana Institute of Music, Thailand

Known for its rich cultural and natural heritage, Mae Hong Son province in northern Thailand is a place where a diversity of art forms including fine arts, architecture and sculpture are well-represented. Throughout the history of Mae Hong Son, people have been sharing the idea of social interaction in economic and cultural exchange, especially through music, and as a result the diverse ethnic groups of the province show clear musical identities. Folk music in Mae Hong Son is full of stories illustrating various aspects of people’s lives such as agriculture, rituals and traditions. People recorded stories in the form of music across generations, to understand and remember the roots of the ancient culture in which music always performed this function. This creative research was the musical portion of an interdisciplinary research project entitled “Upgrading Cultural Heritage for Creative Tourism in Mae Hong Son Province”. Four districts were selected for their different cultural and historical characteristics: Pang Ma Pha, pre-historic route; Mae Sariang; Lanna culture route; Mueang Mae Hong Son, Wood trading route; and Khun Yuam, reminiscence of World War II. They served as case studies to explore existing music by using the concept of Cross-Cultural Progress in Music. The concept was developed through interviews, notations, and making music while working together with folk music gurus at each site. The tunes were then translated, arranged and composed into pieces for a string quartet, but maintained the essence of the original ideas. Each piece in the set –Pang Ma Pha Suite, Resonance, Misty Town, and Recollection narrate the respective routes through the districts. Dissemination of this music was through live performances, a recorded music album, “Uplifting Tunes, Vivid Reminiscence, and Misty Town,” and Podcast tracks summarising the routes for travellers, available through digital streaming. The results showed that music can embrace the knowledge of archaeology, art history and history.

สำเนียงดนตรีพื้นบ้านในจังหวัดแม่ฮ่องสอน: การแปลความหมายจากดนตรีในอดีตสู่ปัจจุบัน

 

ศุภพร สุวรรณภักดี 

สำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 

 

จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและนักวิชาการในด้านมรดกทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมโดยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของความรู้ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะทั้งในด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ของแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่ที่ผู้คนได้แบ่งปันแนวคิดผ่านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีในพื้นที่แม่ฮ่องสอนมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงอัตลักษณ์ทางดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และเต็มไปด้วยเรื่องราวที่แสดงให้เห็นในแง่มุมต่าง ๆ จากวิถีชีวิตของผู้คน เช่น การเกษตรกรรม พิธีกรรม และประเพณี ฯ พบว่า ผู้คนในพื้นที่ได้บันทึกเรื่องราวและประวัติศาสตร์ในรูปแบบของดนตรีที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นโดยใช้ดนตรีทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจและรากของวัฒนธรรมในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ 

งานวิจัยดนตรีเชิงสร้างสรรค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยในรูปแบบสหวิทยาการเรื่อง “การยกระดับมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จากการศึกษาได้คัดเลือกสี่อำเภอในแม่ฮ่องสอนในการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) เส้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อ.ปางมะผ้า 2) เส้นทางวัฒนธรรมล้านนาใน อ.แม่สะเรียง 3) เส้นทางการค้าไม้โบราณใน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน และ 4) เส้นทางย้อนความทรงจำสงครามโลกครั้งที่สอง อ.ขุนยวม

การศึกษาทางด้านดนตรีเป็นการสำรวจสำเนียงดนตรีพื้นบ้านในแต่ละเส้นทางโดยใช้กระบวนการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม ได้แก่ การเรียนรู้ การตีความ การบรรเลง และการส่งต่อมาพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับในการศึกษาครั้งนี้ในด้านการสัมภาษณ์ การบันทึกโน้ต และกระบวนการการบรรเลงร่วมกันกับนักดนตรีพื้นบ้านในขณะที่ดำเนินการภาคสนาม นำไปสู่แรงบันดาลใจในการทำงานสร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมายและตีความจากสำเนียงดนตรีพื้นบ้าน สำหรับวงสตริงควอเต็ทโดยการใช้เทคนิคทางด้านดนตรีได้แก่การเรียบเรียงและการประพันธ์ที่ยังคงไว้ซึ่งสาระสำคัญเดิมของดนตรีพื้นบ้าน ประกอบด้วยสี่บทประพันธ์ในการเล่าเรื่องผ่านสำเนียงดนตรีในแต่ละเส้นทาง ประกอบด้วย ปางมะผ้าสูวีท (Pang Ma Pha Suite) เสียงสะท้อน (Resonance) เมืองแห่งหมอก (Misty Town) และความทรงจำ (Recollection) จากผลงานสร้างสรรค์นี้ได้เผยแพร่แก่สาธารณชนในรูปแบบของการแสดงดนตรีประกอบการบรรยาย และการบันทึกเสียงเพื่อออกอากาศทางช่องทางดิจิทัลสตรีมมิ่งภายใต้อัลบัม “ลำนำเพลงที่ชื่นใจ ความทรงจำที่สดใส และถิ่นแดนไกลในม่านหมอก” พร้อมทั้งพอดแคสต์แต่ละเส้นทางสำหรับนักเดินทางในแต่ละเส้นทางเป็นภาษาไทย ผลของการศึกษาพบว่า ดนตรีเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสามารถผสานความรู้ในด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี